วันพฤหัสบดีที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2554

กรณีศึกษา4นางฟ้า709

กรณีศึกษา 4 : SF Cinema City นำไอทีพัฒนาธุรกิจและบริการ




      เอส เอฟ ซีนีม่า ซิตี้ ดำเนินธุรกิจจัดจำหน่ายภาพยนตร์ และธุรกิจโรงภาพยนตร์ในภาคตะวันออก และในปี พ.ศ. 2542 ได้ขยายธุรกิจมาสู่กรุงเทพมหานคร โดยมีศูนย์การค้ามาบุญครองเซ็นเตอร์เป็นที่ตั้งโครงการสาขาแรก
เนื่องจากธุรกิจโรงภาพยนตร์ที่นอกจากจะแข่งขันด้วยการขยายสาขาให้คลอบคลุมพื้นที่แล้ว การสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าด้วยบริการใหม่ๆ ก็เป็นอีกกลยุทธ์หนึ่งที่จะมัดใจลูกค้าให้กลับมาใช้บริการอีกดังนั้น ผู้บริหารโรงภาพยนตร์จึงได้นำระบบตั๋วภาพยนตร์ ที่ชื่อว่า SF I-Ticket ซึ่งสามารถรับจองที่นั่งได้จากเว็บไซต์ www.sfcinemacity.com โดยตรง ผู้ใช้สามารถเห็นที่นั่งว่างทั้งหมดในโรงภาพยนตร์เหมือนกับเคาน์เตอร์ขายตั๋วที่โรงภาพยนตร์ และซื้อตั๋วที่นั่งที่ต้องการได้ โดยจ่ายค่าตั๋วผ่านบัตรเครดิต และผู้ใช้บริการสามารถพิมพ์ตั๋วจากบ้านด้วยบริการ Print@home ซึ่งพร้อมเข้าโรงภาพยนตร์ได้ทันที โดยไม่ต้องไปถึงโรงภาพยนตร์ก่อนครึ่งชั่วโมง

1. ระบบที่เอส เอฟ ซินิม่า ซิตี้ นำมาใช้นี้ส่งผลต่อเจ้าของธุรกิจและผู้ใช้บริการอย่างไรบ้าง
ตอบ 1. ทำให้โรงภาพยนตร์มีค่าใช้จ่ายลดลง
2. ทำให้โรงภาพยนตร์มีรายได้เพิ่มขึ้น
3. ลูกค้าได้รับความสะดวกจากการให้บริการ
4. ตอบสนองความต้องการแก่ผู้ใช้บริการได้อย่างรวดเร็ว
5. ในการจำหน่ายบัตรมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น

2. ระบบที่นำมาใช้นี้มีข้อจำกัดอะไรบ้าง
ตอบ 1. ประชาชนคนไทยยังไม่ให้ความไว้วางใจในความปลอดภัยในการการชำระเงินผ่านบัตรเครติตโดยผ่านสื่ออินเทอร์เน็ต โดยเชื่อว่าระบบการชำระเงินยังไม่แน่นอนและความปลอดภัยในด้านข้อมูลส่วนตัวอาจรั่วไหลทำให้เกิดปัญหาอื่นๆ ตามมา
2. มีข้อจำกัดสำหรับผู้ไม่มีบัตรเครดิตให้ผู้มีรายได้น้อย และอาจเป็นข้อได้เปรียบ-เสียเปรียบระหว่างลูกค้าได้ เช่น การจองตัวผ่านสื่ออินเตอร์เน็ตสำหรับผู้มีบัตรเครดิต อาจได้รับที่นั่งดีกว่า ผู้ที่ไม่ใช้บัตรเครดิต เนื่องจาก ผู้ไม่มีบัตรเครดิต จำเป็นต้องจองตั๋วหน้าโรงหนัง เป็นต้น

3. หากจะนำระบบไอทีของเอส เอฟ ซินีม่า มาให้บริการด้านอื่น ๆ จะแนะนำให้นำไอทีมาต่อยอด
ตอบ 1. ธุรกิจให้บริการ เช่น ร้านอาหาร(จองโต๊ะ), นวดแผนโบราณ, โรงแรมหรือที่พักต่างๆ
2. ธุรกิจบันเทิง เช่น คาราโอเกะ (จองห้อง), การแสดงละครเวที, คอนเสริต์, กีฬาต่างๆ
3. การจองตั๋วเครื่องบิน, รถโดยสารประจำทาง (กรุงเทพฯ- เชียงใหม่)
4. ร้านจำหน่ายหนังสือหรือ โรงพิมพ์ เช่น การสั่งจองหนังสือ

วันพุธที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต...นางฟ้า709

การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต

1. การเชื่อมต่อแบบ Dial Up
เป็นการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตที่เคยได้รับความนิยมในยุคแรก ๆ โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์บุคคล กับสายโทรศัพท์บ้านที่เป็นสายตรงต่อเชื่อมเข้ากับโมเด็ม (Modem) ก็สามารถใช้งานอินเตอร์เน็ตได้แล้ว ผู้ใช้บริการอินเตอร์เน็ตต้องทำการติดต่อกับผู้ให้บริการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตผ่านหมายเลขโทรศัพท์บ้าน โดยผู้ให้บริการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตจะกำหนดชื่อผู้ใช้ (Username) และรหัสผ่าน (Password) มาให้เพื่อเข้าใช้บริการอินเตอร์เน็ต
ข้อดี ของการเชื่อมต่อแบบ Dial Up คือ
อุปกรณ์มีราคาถูก
การติดตั้งง่าย
การเคลื่อนย้ายอุปกรณ์ทำได้ง่าย
ข้อเสีย คืออัตราการรับส่งข้อมูลค่อนข้างต่ำเพียงไม่เกิน 56 kbit (กิโลบิต) ต่อวินาที

2.?การเชื่อมต่อแบบ ISDN?(Internet Services Digital Network)
เป็นการเชื่อมต่อที่คล้ายกับแบบ Dial Up เพราะต้องใช้โทรศัพท์และโมเด็มในการเชื่อมต่อ ต่างกันตรงที่ระบบโทรศัพท์เป็นระบบความเร็วสูงที่ใช้เทคโนโลยีระบบดิจิตอล (Digital) และต้องใช้โมเด็มแบบ ISDN Modem ในการเชื่อมต่อ ดังนั้นการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตแบบ ISDN จะต้องคำนึงถึงสิ่งเหล่านี้ คือ
lการเชื่อมต่ออินเทอรเน็ตแบบ ISDN
จุดเด่น ความเร็ว 112 - 200 Kbps, สามารถต่ออินเตอร์เน็ตและคุยโทรศัพท์ได้พร้อมกัน- จุดด้อย ต้องอยู่ในพื้นที่ให้บริการเท่านั้น มักอยู่บริเวณย่านธุรกิจ, อุปกรณ์ราคาแพงหายาก, มีค่าบริการเพิ่ม
ISDN
128Kbps
128Kbps


ปัญหาที่พบบ่อย
• เชื่อมต่อระบบไม่ได้
• คลิกเข้าสู่ระบบ แล้วเข้าไม่ได้
• เลือกหน้าต่างใหม่แล้วไม่ขึ้นซ้อน
ช่องทางเชื่อมต่อระบบฯ
• เชื่อมต่อผ่าน ISDN 
– TOT 128 Kbps
– Ect 1171
• เชื่อมต่อผ่าน ADSL 512/256 Kbps
• เชื่อมต่อผ่าน MODEM 56 Kbps

การตรวจสอบช่องทางเชื่อมต่อเบื้องต้น
ตรวจสอบอุปกรณ์ Modem และ NT ว่าเปิดอยู่หรือไม่
ตรวจสอบสายสัญญาณโทรศัพท์ภายในอาคาร ว่าเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ Modem และ NT อยู่หรือต่อแน่นหรือไม่
ตรวจสอบสายเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์ Modem กับเครื่องคอมพิวเตอร์ ว่ามีอยู่หรือต่อแน่นหรือไม่(สรุปว่า อุปกรณ์จะต้องมีสายพ่วงมาจนถึงเครื่องคอมพิวเตอร์)
กรณี Modem ADSL และ NT มีไฟ สีแดงขึ้น ให้ประสานฝ่ายไอทีเพื่อแนะนำการแก้ปัญหา
  1. ต้องติดต่อผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต (ISP) ที่ให้บริการการเชื่อมต่อแบบ ISDN
  2. การเชื่อมต่อต้องใช้ ISDN Modem ในการเชื่อมต่อ
  3. ต้องตรวจสอบว่าสถานที่ที่จะใช้บริการนี้ อยู่ในอาณาเขตที่ใช้บริการ ISDN ได้หรือไม่
ข้อดี คือไม่มีสัญญาณรบกวน มีความเร็วสูง และยังคงสามารถใช้โทรศัพท์เพื่อพูดคุยไปได้พร้อม ๆ กับการเล่นอินเตอร์เน็ต
ข้อเสีย คือมีค่าใช้จ่ายสูงกว่าระบบ Dial-Up

3.?การเชื่อมต่อแบบ DSL?(Digital Subscriber Line)
เป็นเทคโนโลยีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตความเร็วสูงโดยใช้สายโทรศัพท์ธรรมดา ที่สามารถใช้อินเตอร์เน็ตและพูดผ่านสายโทรศัพท์ปกติได้ในเวลาเดียวกัน สิ่งที่ต้องคำนึงถึงในการติดตั้งระบบอินเตอร์เน็ตแบบ DSL ก็คือ
  1. ต้องตรวจสอบว่าสถานที่ที่ติดตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ให้บริการระบบโทรศัพท์แบบ DSL หรือไม่
  2. บัญชีผู้ใช้อินเตอร์เน็ตจากผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตในแบบ DSL
  3. การเชื่อมต่อต้องใช้ DSL Modem ในการเชื่อมต่อ
  4. ต้องติดตั้ง Ethernet Adapter Card หรือ Lan Card ไว้ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตด้วย
ข้อดี คือมีความเร็วสูงกว่าแบบ Dial-Up และ ISDN
ข้อเสีย คือไม่สามารถระบุความเร็วที่แน่นอนได้

4.?การเชื่อมต่อแบบ Cable
เป็นการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตโดยผ่านสายสื่อสารเดียวกับ Cable TV จึงทำให้เราสามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตไปพร้อม ๆ กับการดูทีวีได้ โดยต้องจัดหาอุปกรณ์เพิ่มเติม คือ
  1. ใช้ Cable Modem เพื่อเชื่อมต่อ
  2. ต้องติดตั้ง Ethernet Adapter Card หรือ Lan Card ไว้ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตด้วย
ข้อดี คือถ้ามีสายเคเบิลทีวีอยู่แล้ว สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้โดยเพิ่มอุปกรณ์ Cable Modem ก็สามารถเชื่อมต่อได้
ข้อเสีย คือถ้ามีผู้ใช้เคเบิลในบริเวณใกล้เคียงมาก อาจทำให้การรับส่งข้อมูลช้าลง
5.?การเชื่อมต่อแบบดาวเทียม (Satellites)
เป็นการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตที่มีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง ระบบที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันเรียกว่า Direct Broadcast Satellites หรือ DBS โดยผู้ใช้ต้องจัดหาอุปกรณ์เพิ่มเติม คือ
  1. จานดาวเทียมขนาด 18-21 นิ้ว เพื่อทำหน้าที่เป็นตัวรับสัญญาณจากดาวเทียม
  2. ใช้ Modem เพื่อเชื่อมต่อระบบอินเตอร์เน็ต
ข้อเสีย ของการเชื่อมต่อแบบดาวเทียม (Satellites) ได้แก่
  1. ต้องส่งผ่านสายโทรศัพท์เหมือนแบบอื่น ๆ
  2. ความเร็วในการรับส่งข้อมูลต่ำมากเมื่อเทียบกับแบบอื่น ๆ
  3. ค่าใช้จ่ายสูง
 การเชื่อมต่ออินเตอร์แบบไร้สาย

ข้อดี

1. ช่วยลดปัญหาในการติดตั้งระบบเครือข่าย
2. ช่วยลดปัญหาในการวางสายระบบเครือข่าย
3. ไม่ต้องใช้สาย cable
4. ช่วยให้เกิดความเป็นระเบียบ เรียบร้อย



ข้อเสีย

1. มีอัตราการลดทอนสัญญาณสูง นั่นหมายความว่า “ ส่งสัญญาณได้ระยะสั้น ”
2. มีสัญญาณรบกวนสูง
3. ต้องแชร์กันใช้ช่องสัญญาณคลื่นความถี่เดียวกัน
4. ยังมี หลายมาตรฐาน ตามผู้ผลิต แต่ละราย ทำให้ มีปัญหา ในการ ใช้งาน ร่วมกัน
5. ราคาแพงกว่าระบบเครือข่ายแบบมีสาย
6. มีความเร็วไม่สูงมากนัก
การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์กับเครือข่ายไร้สาย (Wireless Networks) สำหรับ Windows7
17 สิงหาคม 2553 15:52 
ปัจจุบันนี้แนวโน้มผู้ที่หันมาใช้โน๊ตบุ๊คแทนคอมพิวเตอร์พีซี มีจำนวนสูงขึ้นทุกวัน เป็นผลจากเครือข่ายไร้สาย (Wireless Networks) ที่สะดวกในการเชื่อมต่อใช้งานอินเตอร์เน็ต และ ณ. เวลานี้สิ่งที่มาแรงไม่แพ้เครือข่ายไร้สาย (Wireless Networks) เลยก็คือ Windows7 นั่นเอง ถึงแม้ว่าเจ้า Windows7 นั้นจะไม่เหมาะกับโน๊ตบุ๊คเท่าใดนักแต่ในด้านการเชื่อมต่อกับ คอมพิวเตอร์มือถือนั้นถือได้ว่าเยี่ยมพอสมควร ก่อนที่เราจะทำการเชื่อมต่อเครือข่ายนั้นเราจะต้องรู้วิธีเชื่อมต่อกันก่อน ไปดูกันเลย

1. ด้านขวาของทาสก์บาร์คุณจะเห็นไอคอนเครือข่ายไร้สาย (Wireless Networks) ด้านล่าง ให้คลิกที่ไอคอน


 
2.จะแสดงหน้าต่างการเชื่อมต่อเครือข่าย  จากรูปด้านล่าง บริเวณช่อง Wireless Network Connection จะแสดงรายการ SSID ที่มีสัญญาณที่คุณสามารถจะเชื่อมต่อได้ หากไม่มีรายการ SSID แสดงให้ลองกดที่ ไอคอน Refresh
3.เลือกเครือข่ายที่ต้องการแล้วคลิกคลิกมัน

 4.ใส่เครื่องหมายถูกที่ Connect automatically ถ้าคุณต้องการให้มีการเชื่อมต่อโดยอัตโนมัติ แล้วคลิกที่ Connect

 5.จะแสดงให้ใส่รหัสความปลอดภัย ที่คุณหรือสำนักงาน ได้กำหนดไว้ ให้ใส่รหัสแล้วคลิกที่ปุ่ม OK  การตั้งค่ารหัสความปลอดภัย
ถ้าคุณพิมพ์รหัสผ่านไม่ถูกต้อง Windows 7 จะขอให้คุณพิมพ์รหัสผ่านอีกครั้งจนกว่าจะตรงกับรหัสผ่านของเครือข่ายที่คุณกำลังเชื่อมต่อ  

6. จากรูปด้านล่างหากรูปไอคอนเครื่อข่ายไร้สาย Connected แสดงว่าเชื่อมต่อไสเร็จ แต่ถ้าเหมือนรูป Not Connected แสดงว่าเชื่อมต่อไม่สำเร็จ
เป็นไงกันบ้างไม่ยากอย่างที่คิดไช่มั้ยล่ะขอให้สนุกกับการเล่นอินเตอร์เน็ตนะคะ

เชื่อมต่อ GPRS/EDGE ของ DTAC เพื่อต่อเน็ตกับ PC ทาง Bluetooth ครับ (วิธี Set อุปกรณ์ทั้งสองเพื่อเล่นเน็ตทาง PC โดยผ่าน GPRS)


ลองทำดูนะ
1 ขอเปิดบริการ GPRS/EDGE แบบเหมาจ่ายกับทาง *1004 ก่อน 999บาท/เดือน ไม่รวมแวต เพราะถ้า kb ละ 0.10 บาท ตายแน่ เล่นทีเป็น MB จ้าาาาา
2 ลง driver bluetooth ให้เรียบร้อย แล้วเปิดบลูทูธ ที่ โทรศัพท์ ทิ้งไว้
3 คลิกเม้าส์ขวาที่รูป bluetooth ด้านล่างขวาจอ เลือก quick connect
ต่อด้วยเลือก dial-up networking ต่อด้วยเลือก ชื่อเครื่องที่จะต่อ
4 โทรศัพท์จะถามว่ายอมรับการต่อหรือไม่ เลือกยอมรับ
5 ที่เครื่องคอมจะให้จับคู่การใช้งาน ใ้ห้คลิกที่รูปบลูทูธด้านล่างขวาจอ(จะมีข้อความขึ้นว่าให้เชื่อมต่อนะ)
6 คอมจะให้ใส่รหัสที่คอมใส่เลข อะไรก็ได้ แล้วคลิกที่ initial pairing (ด้านข้างขวา)
7 ที่เครื่องจะให้ใส่รหัส(ซึ่งต้องตรงกับที่ใส่ในคอมเมื่อกี้)ใส่เลข
แล้วกดตกลง
8 จอคอมจะขึ้นconnection ช่องอื่นไม่ต้องสนใจให้กรอกเฉพาะช่องdial ด้านล่างว่า *99***1# โทรศัพท์ยี่ห้ออื่นนอกจาก Nokia ใช้  *99***2# แล้ว connect เลย คิดว่าน่าจะได้นะ ลองดูก็แล้วกันจ้าาาา
อ้ออย่าลืมนะ ถ้าเป็นมือถือโนเกียใช้ *99***1#
มือถืออื่นใช้ *99***2#


Error 734 : The PPP link control protocol was terminated
ลองไปเช็คค่า หัวข้อ Advanceed แล้วใส่ค่า ให้ถูกต้อง at+cgdcont=1,"ip","www.dtac.co.th " /  at+cgdcont=2,"ip","www.dtac.co.th " สำหรับมือถือยี่ห้ออื่นนอกจากโนเกีย
เช็คค่าเบอร์ที่ dail ว่าเบอร์ถูกต้องหรือเปล่า ...*99***1#, มือถืออื่นนอกจากโนเกียใช้ *99***2#
ถ้าไม่ได้..โทรหา call center dtac ดิ แก้ปัญหาให้ได้แน่นอน....
0

Add a comment

  • Nov
    14

    กรณีศึกษา

    กรณีศึกษาที่ 3 ระบบสนับสนุนการปฏิบัติการบินของการบินไทยบนเทคโนโลยี.NET
    1.ประโยชน์ที่การบินไทยได้รับจากการใช้ระบบ OPAL อะไรบ้าง
    ตอบ ประโยชน์ที่ได้รับคือ ใช้ในการวางแผน ควบคุมเครื่องบินแต่ละลำให้เป็นไปตามตารางการบินและตารางการซ่อมบำรุงอากาศยานของการบินไทย พร้อมทั้งรวบรวมข้อมูลช่วยในการตัดสินใจเมื่อเกิดปัญหาใดๆ เมื่อเครื่องบินไม่สามารถทำการบินได้

    2. ท่านคิดว่าการพัฒนาระบบ OPAL มีข้อจำกัดหรือปัญหาหรือไม่
    ตอบ1. ต้องมีการพัฒนาระบบให้มีประสิทธิภาพตรงกับการใช้งานและประเมินผลการดำเนินงานระบบอยู่เสมอ
    2. ระบบมีขอบเขตการใช้งานในตระกูลของ .NET เท่านั้น
    3. ถ้า Sever เกิดข้อผิดพลาด จะทำให้ไม่สามารถทำงานได้ทั้งระบบ หรือ ทำให้ระบบเปลี่ยนแปลง ก่อให้เกิดความเสียหายในองค์กร




    0

    Add a comment


  • Nov
    6

    Home Work 2

    1. ให้พิจารณาจากใบโฆษณาขายคอมพิวเตอร์ทั่วๆ ไป แล้วระบุรายละเอียดของสั่งต่อไปนี้
    1.1 ซีพียู : E6600 / 3.06 GHZ.
    1.2 หน่วยความจำหลัก : Memory 2 GB. (DDR3/1333MHz./Lifetime)
    1.3 อุปกรณ์รับข้อมูล:  Hdd: 500 GB. SATA/7,200 rpm
    1.4  อุปกรณ์แสดงผล:  Monitor 18.5" LCD
    1.5 อุปกรณ์การสื่อสาร :Sound Audio: 5.1 Channel,  Reader Card: 16 in 1, Key Board: PS/2
                                              Mouse-Optical, Speaker: 240 Watt.
    1.6 อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลสำรอง  Mainboard : ASUS, ฮาร์ดิส DVD-RW
    1.7 ซอฟแวร์ระบบ Windows 2007
    1.8  ซอฟแวร์ประยุกต์   Microsoft Word, Microsoft Excel,Microsoft PowerPoint,Microsoft Access,Microsoft SQL Server,Microsoft Publisher, Microsoft Paint,Corel Draw


    2. ถ้านักศึกษาเป็นผู้จัดการด้านคอมพิวเตอร์ จะต้องให้คำแนะนำในการจัดหาคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ในสำนักงาน นักศึกษาจะแนะนำให้ใช้คอมพิวเตอร์ประเภทใด ระบุเหตุผลประกอบ

    คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ เพราะ PC นั้นสู้งานหนัก จะเล่นเกมส์กี่ชั่วโมงไม่ยั่น ไม่ว่าออฟไลน์ ออนไลน์
    พิมพ์งาน ทุกอย่างเล่นเน็ต ทั้งวันยังไหว(ห้องแอร์) ไรท์หนัง ภาพ DVD ทันใจ และราคาถูกกว่า โน๊ตบุ๊ค จัดเก็บข้อมูลมากกว่า จัดตั้งระบบสำนักงานได้ง่าย และมีความคงทนต่อการทำงาน สามารถทำงานได้ตามใจต้องการไม่ต้องเป็นกังวลว่าแบตจะหมด 
    3. ประเภทของภาษาคอมพิวเตอร์
    • ภาษาเครื่อง (Machine Language) คืออะไร
    ภาษาเครื่อง (Machine Language) เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ระดับที่ต่ำที่สุด เพราะใช้ เลขฐานสองแทนข้อมูลและคำสั่งต่างๆทั้งหมด จะเป็นภาษาที่ขึ้นอยู่กับชนิดของเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือหน่วยประมวลผลที่ใช้ โดยจะสามารถสื่อสารและสั่งงานเครื่องคอมพิวเตอร์ได้โดยตรงในทางคอมพิวเตอร์นั้น ก็ต้องทำการพัฒนาภาษาที่จะสื่อสารระหว่างมนุษย์และคอมพิวเตอร์ แต่ด้วยเหตุที่เครื่องคอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีเฉพาะวงจรการเปิดและปิด ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์สื่อสารโดยใช้เลขฐานสองเท่านั้น เรียกภาษาที่ใช้เฉพาะเลข ฐานสองในคอมพิวเตอร์ว่า ภาษาเครื่อง (Machine Language) การที่มนุษย์จะเรียนรู้ภาษาเครื่องนั้นยากมาก เพราะนอกจากจะต้องศึกษาถึงระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์แล้ว ยังจะต้องศึกษาถึง คำสั่งและความหมายของคำสั่งสำหรับสั่งงานอุปกรณ์นั้นอีกด้วย ซึ่งจะทำให้การใช้งานคอมพิวเตอร์เป็นเรื่องยุ่งยาก แต่ถ้าหากขาดภาษาเครื่องซึ่งเป็นชุดรหัสคำสั่งที่คอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจและนำไปปฏิบัติต่อได้แล้วนั้น เราจะไม่สามารถสื่อสารหรือใช้งานคอมพิวเตอร์ได้เลย
    ลักษณะของภาษาเครื่อง
    ภาษาเครื่องเป็นภาษาที่มีการเขียนขึ้นเอง เพื่อใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ในยุคแรกๆ ซึ่งเครื่องจะสามารถเข้าใจและพร้อมที่จะทำงานตามคำสั่งได้ทันที คำสั่งแต่ละคำสั่งของภาษาเครื่องจะประกอบด้วยตัวเลขล้วนๆ แต่ละคำสั่งของภาษาเครื่อง จะประกอบไปด้วยส่วนสำคัญ 2 ส่วน คือ

    1. Operation Code: เป็นส่วนที่เก็บคำสั่งเพื่อให้เครื่องประมวลผล เช่น ให้ทำการบวก ลบ คูณ หาร หรือเปรียบเทียบ เป็นต้น
    2. Operand: เป็นส่วนที่บอกให้ทราบถึงตำแหน่งของหน่วยความจำที่บันทึกข้อมูลที่จะถูกนำมาใช้คำนวณ
    เครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องต่างมีภาษาเครื่องของตัวเอง ดังนั้น ผู้เขียนโปรแกรมจึงต้องรู้รหัสคำสั่ง และจดจำความหมายของรหัสคำสั่งในเครื่องนั้นๆได้
    • ภาษาแอสแซมลบลี Assembly
    โปรแกรมภาษาแอสเซมบลีเป็นส่วนประกอบด้านซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการควบคุมการทำงานของไมโครโพรเซสเซอร์
    โปรแกรมเหล่านี้จะทำหน้าที่สั่งการให้ส่วนประกอบที่เรียกว่าฮาร์ดแวร์มีการทำงานตามที่ต้องการ ดังนั้นก่อนที่จะเริ่มทำ
    การพัฒนาโปรแกรมจึงควรศึกษาโครงสร้างการทำงานของโปรแกรมก่อน
    โครงสร้างของโปรแกรมภาษาแอสเซมบลีแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ คือ
    �� SEQUENCE PROGRAMS : เครื่องคอมพิวเตอร์จะมีการทำงานตามลำดับของชุดคำสั่ง
    �� CONDITIONAL PROGRAMS : สามารถกำหนดเงื่อนไขให้ตกลงใจว่าจะทำตามคำสั่งชุดใด
    �� ITERATION PROGRAMS : ระบุให้ทำตามชุดคำสั่งเดิมซ้ำจนกว่าจะบรรลุตามเงื่อนไขที่กำหนด
    • โปรแกรมตามลำดับ (SEQUENCE PROGRAMS)
    ในการเขียนโปรแกรมหาค่าเฉลี่ยของเลข 2 จำนวน มีขั้นตอนในการดำเนินการ ดังนี้
    1.  กำหนดปัญหา และเขียนอัลกอริทึม (Algorithm)
    สมมติ เราทราบอุณหภูมิสูงสุดและอุณหภูมิต่ำสุดของแต่ละวัน ต้องการที่จะหาค่าอุณหภูมิเฉลี่ย
    จัดลำดับการทำงานของโปรแกรม
    - นำค่าอุณหภูมิสูงสุด และอุณหภูมิต่ำสุด
    - นำผลรวมของค่าอุณหภูมิทั้งสองมาหารด้วย 2 เพื่อที่จะหาค่าเฉลี่ย
    2 .จัดโครงสร้างข้อมูล
    สิ่งแรกที่จะต้องคำนึงถึงคือข้อมูลที่จะส่งเข้าไปทำงานในโปรแกรม จึงควรตั้ง คำถามดังนี้
    - ข้อมูลอยู่ในหน่วยความจำ (Memory) หรือในรีจิสเตอร์ (Register)
    - ข้อมูลมีขนาดเท่าใด (byte, word หรือ double word)
    - มีข้อมูลที่เกี่ยวข้องอยู่กี่ประเภท
    - ข้อมูลเหล่านั้นมีค่าเป็นเฉพาะค่าบวก หรือเป็นไปได้ทั้งค่าบวกและลบ
    - โครงสร้างของข้อมูลเป็นอย่างไร (อาเรย์ หรือเร็คคอร์ด)
    สมมติ ข้อมูลทั้งหมดมีขนาดเป็นไบต์และถูกจัดเก็บอยู่ในหน่วยความจำ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้มีเฉพาะค่าบวก
    ตั้งแต่ 0 ถึง 0FFH
    3. กำหนดค่าเริ่มต้น
    ที่จุดเริ่มต้นของโปรแกรมจะต้องกำหนดค่าเริ่มต้นของ Data Segment (DS) Register โดยใช้
    คำสั่ง MOV AX, DATA และ MOV DS, AX
    4. เลือกชุดคำสั่งที่เหมาะสม
    โดยการดูจากการปฏิบัติที่สำคัญของโปรแกรม ซึ่งเขียนไว้ใน Algorithm (ตรวจสอบคำสั่งต่างๆ
    ในบทที่ 6 เพื่อเลือกใช้คำสั่งที่ทำหน้าที่ตรงกับความต้องการในการสั่งให้ 8086 ทำงานตามที่ออกแบบโปรแกรมไว้)
    • โปรแกรมแบบกำหนดเงื่อนไข (CONDITIONAL PROGRAM)
    ประสิทธิภาพในการทำงานของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่แท้จริง ได้มาจากการที่ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์มี
    ความสามารถในการเลือกปฏิบัติ ตาม Sequence Program ได้มากกว่า 1 โปรแกรม โดยมีการกำหนดเงื่อนไขใน
    การเลือกปฏิบัติ หรือทำตาม Sequence Program ซ้ำจนกว่าจะตรงตามเงื่อนไขที่กำหนด โดยใช้ flag เป็นตัวบ่งบอก
    ว่าขณะนั้นการปฏิบัติเป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนด หรือยัง
    1. JUMPS
    คำสั่ง Jump ใช้ในการบอก address ที่จะให้คอมพิวเตอร์ทำการ fetch ชุดคำสั่งถัดไป คำสั่ง Jump
    สำหรับ 8086 มีอยู่ 2 ประเภท คือ Conditional Jump และ Unconditional Jump
    2. IF-THEN PROGRAM
    โครงสร้างของคำสั่ง IF-THEN มีรูปแบบ ดังนี้
    IF condition THEN
    3. Action
    Actionหมายถึง ถ้าสถานะของเงื่อนไข (condition) เป็นจริง (TRUE) โปรแกรมจึงจะทำตามคำสั่ง
    ตามลำดับ แต่ถ้าสถานะของเงื่อนไขเป็นเท็จ (FALSE) โปรแกรมก็จะข้ามการปฏิบัติตามคำสั่งที่อยู่หลัง THEN ไป
    ทำตามคำสั่งในโปรแกรมหลัก ตัวอย่างของการใช้โครงสร้างของโปรแกรม IF-THEN อย่างง่าย คือคำสั่ง
    Conditional Jump
    4. Multiple IF-THEN-ELSE PROGRAMS
    โครงสร้างของคำสั่ง IF-THEN-ELSE ที่มีตัวเลือกในการปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง ในหลายๆ วิธี
    (Multiple) มีรูปแบบ ดังนี้
    IF condition THEN
    Action
    ELSE IF condition THEN
    Action
    ELSE
    Action
    ข้อสังเกต โครงสร้างของ IF-THEN ในระดับล่างลงมาจะเป็นส่วนหนึ่งของ IF-THEN
    • โปรแกรมการทำซ้ำ (ITERATION PROGRAM)
    ใช้ในกรณีที่ต้องการให้โปรแกรมทำงานขั้นตอนใดๆ ซ้ำเหมือนเดิมตามเงื่อนไขที่กำหนด
    • ภาษาระดับสูง High-Level Language
     ภาษาระดับสูง
    ---------ภาษาระดับสูง การพัฒนาภาษาคอมพิวเตอร์ในยุคต่อมา จึงพยายามให้เป็นภาษาที่สามารถนำไปใช้กับเครื่องต่างระบบกัน ไม่ต้องเสียเวลาเรียนรู้ใหม่ทั้งหมด โปรแกรมที่เขียนสั่งงานกับเครื่องระบบหนึ่ง ก็สามารถนำไปใช้หรือดัดแปลงเพียงเล็กน้อยเพื่อสั่งงานกับเครื่องอีกระบบหนึ่งได้ ลักษณะของภาษาจะพยายามให้ใกล้เคียงกับภาษาธรรมชาติมากขึ้น ทำให้เราสามารถศึกษาและเรียนรู้ได้ในเวลาอันรวดเร็ว ภาษาในยุคหลังนี้ เรียกว่า ภาษาระดับสูง ซึ่งได้มีการคิดค้นพัฒนาออกมาหลายภาษาด้วยกัน ที่เด่น ๆ และนิยมกันมาก ได้แก่ ภาษาฟอร์แทรน (FORTRAN) ภาษาโคบอล (COBOL) ภาษาเบสิก (BASIC) ภาษาปาสกาล (PASCAL) ภาษาซี (C) ภาษาเอดา (ADA) ภาษาลิสป์ (LISP) และภาษาโปรลอก (PROLOG) เป็นต้น
    ---------
    เมื่อเราเขียนโปรแกรมด้วยภาษาระดับสูงแล้ว จะนำไปสั่งงานคอมพิวเตอร์โดยตรงยังไม่ได้ จะต้องผ่านขั้นตอนการแปลภาษาอีก เหมือนกรณีของภาษาแอสเซมบลี ตัวแปลภาษา เพื่อแปลภาษาระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่อง อาจแบ่งได้เป็นสองแบบ คือ อินเทอร์พรีเตอร์ (interpreter) และคอมไพเลอร์ (compiler)
    ---------
    ลักษณะของการแปลภาษาของอินเตอร์พรีเตอร์จะแปลและสั่งเครื่องให้ทำงานตามคำสั่ง ทันทีทีละคำสั่งจนจบโปรแกรม แต่การแปลภาษาด้วยคอมไพเลอร์จะเป็นการแปลทุกคำสั่งที่อยู่ในโปรแกรมให้เป็นภาษาเครื่องเก็บไว้เป็นแฟ้มก่อน การเรียกทำงานจะเป็นการนำแฟ้มภาษาเครื่องมาทำงานทีเดียว ดังนั้นการทำงานด้วยตัวแปลแบบคอมไพเลอร์จึงทำงานได้รวดเร็วและนิยมกันมากในปัจจุบัน
    ----------
    ตัวอย่าง โปรแกรมภาษาเบสิกแสดงการคำนวณ พื้นที่ของสามเหลี่ยมที่กำหนดฐานและส่วนสูงมาให้และแสดงผลลัพธ์อาจเขียนได้ง่าย ๆ ดังนี้
    ---------BASE = 4
    ---------
    HEIGHT = 6

    ---------AREA = 0.5 * BASE * HEIGHT
    ---------PRINT AREA
    ---------END

    4. ยกตัวอย่างภาษา         ภาษาที่นิยมในการนำพัฒนาโปรแกรมประยุกต์ส่วนใหญ่จะเป็นโปรแกรมภาษาระดับสูง สามารถนำมาใช้

    •  ภาษาเบสิก ( Basic) เป็นภาษาที่ถูกออกแบบให้ใช้งานง่าย
    • วิชวลาเบสิก (Visual Basic) เป็นภาษาที่เข้าใจง่ายเหมาะสำหรับใช้โปรแกรมประยุกต์
    • ภาษาโคบอล นิยมใช้สำหรับงานประยุกต์ทางธุรกิจ
    • ภาษาปาสคาล (PASCAL) ใช้สำหรับการสอนเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์
    • ภาษาฟอร์แทรน (Fortran) ใช้ทำงานที่มีความซับซ้อนทางคณิตศาสตร์และตรรกศาสตร์
    • ภาษา ซี ( C ) เป็นภาษาพัฒนาโดย Dennis Ritch ออกแบบภาษาเพื่อพัฒนาดปรแรมควบคุมระบบ
    • ภาษา HTML ( Hypertent Markap-Labguage) ใช้เขียนโปรแกรมเว็บเพจบนอินเตอร์เน็ต

      5. กรณีศึกษาบทที่ 2 : การใช้พีดีเอ ในร้านขายก๋วยเตี๋ยว


      1.  ประโยชน์ที่จะได้จากการนำพีดีเอ มาใช้ในธุรกิจร้านก๋วยเตี๋ยวมีอะไรบ้าง
      ตอบ - สะดวกสบาย
      - ทำให้งานมีระบบและประหยัดเวลา
      - ความคล่องตัวในการปฏิบัติงาน

      2.  ท่านคิดว่ามีข้อจำกัดหรือปัญหาอะไรบ้างในการนำเทคโนโลยีพีดีเอมาใช้ในธุรกิจนี้
      ตอบ - ข้อจำกัดเรื่องโปรแกรมการใช้งานอาจมีให้เลือกไม่หลากหลาย

      3. ธุรกิจใดบ้างที่สามารถนำแนวคิดนี้ไปประยุกต์ใช้ จงอธิบาย
      ตอบ  - ร้านขายหนังสือขนาดเล็ก สามารถตรวจเช็คได้ง่ายว่าหนังสือจำหน่ายไปเท่าไรโดยไม่ 
      ต้องใช้คอมพิวเตอร์ในการใช้เนื่องจากมีขนาดใหญ่ สะดวกต่อการพกพา
      0

      Add a comment


    • Nov
      3

      Home Work 1

      •Social Network หรือเรียกว่า “เครือข่ายสังคม” “เครือข่ายมิตรภาพ” “กลุ่มสังคมออนไลน์” คือ บริการผ่านเว็บไซต์ที่เป็นจุดโยงระหว่างบุคคลที่มีเครือข่ายสังคมของตัวเองผ่านเน็ตเวิร์ค Internetรวมทั้งเชื่อมโยงบริการต่างๆ เช่น เมสเซ็นเจอร์ เว็บบอร์ด บล็อก ฯลฯ เข้าด้วยกัน นอกจากนี้ยังมีก็กลุ่มย่อย เช่น กลุ่มคนขี่จักรยานเสือภูเขา โดยคนที่ลงทะเบียนสมัครจะกรอกข้อมูลส่วนตัว รูปภาพ อัลบั้มรูป โดยเชื่อมเครือข่ายสังคมและเครือข่ายมิตรภาพเข้าด้วยกัน ด้วยการแชร์รูป แชร์ไฟล์  ซึ่งเราจะเรียกเว็บไซต์เหล่านี้ว่า SNS (Social Network Sites)                                                                                                
      ความเป็นมาของ Social Networking จุดเริ่มต้นของสังคมออนไลน์เกิดขึ้นจากเว็บไซต์ classmates.com เมื่อปี 1995 และเว็บไซต์ SixDegrees.com ในปี 1997 ซึ่งเป็นเว็บไซต์ที่จำกัดการใช้งานเฉพาะนักเรียนที่เรียนในโรงเรียนเดียวกัน เพื่อสร้างประวัติ ข้อมูลการสื่อสาร ส่งข้อความ และแลกเปลี่ยนข้อมูลที่สนใจร่วมกันระหว่างเพื่อนนักเรียนในลิสต์เท่านั้น ต่อมาในปี 1999 เว็บไซต์ epinions.com ที่พัฒนาโดย Jonathan Bishop ก็ได้มีการเพิ่มฟังก์ชั่นในส่วนของการที่ผู้ใช้สามารถควบคุมเนื้อหาและติดต่อถึงกันได้ ไม่เพียงแต่เพื่อนในลิสต์เท่านั้น
      องค์ประกอบของ Social Networking   
      1. Communicate (การสื่อสาร)
      2. Defintion  (คำจำกัดความ)
      3. Networking (เครื่อข่าย)
      4. Sharing (แบ่งปัน)
      ประเภท Social Networking
      1. Identity Network (เผยแพร่ตัวตน)
      2. Creative Network (เผยแพร่ผลงาน)
      3.Interested Network (ความสนใจรงกัน
      4.Collaboration Network (ร่วมกันทำงาน)
      5.Gaming (โลกเหมือน)
      6.Peer to Peer
      10 อันดับ Social Networking
      1. My Space.com
      2.Facebook.com
      3.Orkut.com
      4.His.com
      5.Vkontakte
      6.Friendster.com   
      7.SkyRock.com
      8.PerfSpot.com
      9.. Bebo.com          
      10. . Studivz.net
      ป  ประโยชน์ของ Social Networking
      การนำ Social Network Service มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในตลาดธุรกิจและองค์กร จากการที่เทคโนโลยี Web 2.0 ได้เกิดขึ้น และ Social Network Service กำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ทางด้านธุรกิจและองค์กรเองก็มีการปรับใช้สิ่งนี้ให้เกิดประโยชเช่นกัน ตัวอย่างเช่น บริษัทต่างๆเริ่มหันมาใช้ Blog ในการประชาสัมพันธ์สินค้าและบริการมากขึ้น เนื่องจากจัดการใช้งาน และอัพเดทให้ทันสมัยได้ง่าย อีกทั้งยังเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้ดี เพราะ Blog ส่วนใหญ่จะสำรวจและแยกประเภทความสนใจของสมาชิกอยู่แล้ว นอกจากนี้ยังมีค่าใช้จ่ายที่ถูก และสามารถติดต่อสื่อสารระหว่างบริษัทกับลูกค้าผ่านข้อความแสดงความคิดเห็นได้อีกด้วย ตัวอย่างเช่น Web Blog ชั้นนำของญี่ปุ่นอย่าง http://ameblo.jp/ ที่มีหลายบริษัททำการลงโฆษณา และใช้ Blog ของเว็บนี้ประชาสัมพันธ์
      -   ข้อดี-ข้อเสียของ Social Networking

      --
      -ข้อดี 
             - มีโอกาสได้พบเพื่อนเก่า หรือเพื่อนใหม่ที่มีความสนใจในสิ่งที่คล้ายกัน แลกเปลี่ยนข้อมูลความรู้ในสิ่งที่สนใจร่วมกันได้
             - เป็นตัวกลางในการเสนอและแสดงความคิดเห็น แลกเปลี่ยนความรู้ หรือตั้งคำถามในเรื่องต่างๆ เพื่อให้บุคคลอื่นที่สนใจหรือมีคำตอบได้ช่วยกันตอบ กลายเป็นคลังข้อมูลความรู้ขนาดย่อมได้เลยทีเดียว
             - ประหยัดค่าใช้จ่ายในการติดต่อกับคนอื่น สะดวกและรวดเร็วไม่ว่าผู้ใช้งานจะอยู่ที่ใดบนโลกนี้


        ข้อเสีย
              - เว็บไซต์ให้บริการบางแห่งอาจจะเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวมากเกินไป หากผู้ใช้บริการไม่ระมัดระวังในการกรอกข้อมูล อาจถูกผู้ไม่หวังดีนำมาใช้ในทางเสียหาย หรือละเมิดสิทธิส่วนบุคคลได้
              - Social Network เป็นสังคมออนไลน์ที่กว้าง ย่อมมีบุคคลที่ไม่หวังดีแฝงตัวอยู่ ดังนั้นหากผู้ใช้รู้เท่าไม่ถึงการณ์หรือขาดวิจารณญาณ อาจโดนหลอกลวงผ่านอินเทอร์เน็ต หรือการนัดเจอกันเพื่อจุดประสงค์ร้าย ดังที่เป็นข่าวผ่านๆมา
              - แม้ว่า Social Network Service จะเป็นสื่อในการเผยแพร่ผลงาน รูปภาพต่างๆ ของเราให้บุคคลอื่นได้ดูและแสดงความคิดเห็น แต่ก็เป็นช่องทางในการถูกละเมิดลิขสิทธิ์ ขโมยผลงาน หรือถูกแอบอ้างด้วยเช่นกัน 




      กรณีศึกษา บทที่ 1 การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารงานร้านไอศกรีม Iberry

      ร้านไอศกรีม  Iberry  มีคุณวิฒน์  และคุณอัฉรา  บุรารักษ์  เป็นเจ้าของ  ปัจจุบันมี  10  สาขา  ในกรุงเทพฯ 9  สาขา  และต่างจังหวัด  1  สาขา  Iberry เป็นไอศครีมโฮมเมดที่เน้นรสชาติของ
      ผลไม้ไทยๆ  เช่น  มะยม  มะดัน  มะม่วง  มะพร้าว  ฯลฯ
                      ในช่วงแรกๆ  ร้าน Iberry  ประสบปัญหาในการบริหารงาน  3  ประการ  ซึ่งพอสรุปประเด็นได้ ดังนี้
      1.       ปัญหาเรื่องการควบคุมความเย็นในกรณีที่ตู้เย็นเก็บไอศครีมมีปัญหา  เช่น  ไฟดับหรือตู้เย็นเสียก็จะทำให้ไอศครีมเสียหายได้
      2.       ปัญหาเรื่องข้อมูลการขาย  จะทำอย่างไรเพื่อให้ทราบว่าในแต่ละวันมีการขายไอศครีมแต่ละรสชาติเป็นจำนวนเท่าไร  และจะทราบได้อย่างไรว่าพนักงานขายไม่ทุจริตในการตักไอศครีมจากถาด
      3.       ปัญหาการดูแลพนักงาน  เนื่องจากทางร้านมีหลายสาขา  ทำให้ไม่สะดวกที่จะเดินทางไปดูแลในแต่ละสาขาได้ด้วยตนเอง  จะมีวิธีใดที่บริหารงานในหลายๆ  สาขาได้ในเวลาเดียวกัน
      จากปัญหาที่กล่าวมาข้างต้น  ผู้บริหารร้านไอศครีมได้มีแนวคิดที่จะนำไอที  (ทั้งฮาร์ดแวร์
      ซอฟแวร์และเครือข่าย)  เข้ามาช่วยในการแก้ปัญหาด้วยวิธี  ดังนี้
      1.       ใช้เซ็นเซอร์ตรวจวัดอุณหภูมิที่ตู้ไอศครีม  หากอุณหภูมิเปลี่ยนแปลง 
      เครื่องควบคุมระบบจะโทรศัพท์อัตโนมัติแจ้งให้ศูนย์ควบคุมได้ทราบ
      2.       ใช้ซอฟแวร์  Kiosque  สำหรับธุรกิจห้องอาหารเข้ามาช่วยในการเก็บและวิเคราะห์
      ข้อมูลการขาย
      3.       การควบคุมดูแลพนักงานร้านในแต่ละสาขาใช้วิธีการติดตั้งระบบโทรทัศน์วงจรปิด
      (CCTV)  ด้วยระบบ  Network  สามารถบันทึกภาพและเหตุการณ์ภายในร้านได้ตลอดเวลา
       และสามารถดูภาพผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
      คำถาม
      1.  ประโยชน์ที่ร้านไอศครีม  Iberry  นำไอทีเข้ามาช่วยการบริหารงาน  นอกจากการ
      แก้ปัญหาข้างต้นแล้ว  ท่านคิดว่าทางร้านยังได้รับประโยชน์ใดได้บ้าง
      2. ท่านคิดว่าในอนาคตร้านไอศครีม  Iberry  สามารถนำไอทีเข้ามาช่วยงานด้านใดอีก
      ได้บ้าง
                      3.  จากแนวคิดการนำไอทีมาใช้แก้ปัญหาของผู้บริหารร้านไอศครีม  Iberry  นั้น  ท่านคิดว่า
      สามารถนำแนวคิดนี้ไปประยุกต์ใช้กับธุรกิจใดได้บ้าง  จงอธิบายและยกตัวอย่างประกอบ


      1. ประโยชน์ที่ร้านไอศกรีม Iberry นำไอทีเข้ามาช่วยการบริหารงาน นอกจากการแก้ปัญหาข้างต้นแล้ว ท่านคิดว่าร้านยังได้รับประโยชน์ใดได้บ้าง  
      การนำไอทีเข้ามาช่วยเป็นการลดปัญหาที่มีอยู่                                                           
               ปัญหาด้านการควบคุมความเย็น                                                          
               ทำให้ทราบถึงรายละเอียดการขายไอศกรีม                                                          
               ป้องกันการทุจริตของพนักงานในการตักไอศกรีมจากถาด                                                          
              ลดปัญหาการเดินทางไปดูแลพนักงานที่สาขาต่างๆ            
        การนำไอทีเข้ามาช่วยจะลดปัญหาที่จะเกิดภายภาคหน้า                                               
                 ลดปัญหาการขาดทุนจากการที่ขายไอศกรีม                                                      
              ลดเวลาการทำงานให้กับผู้บริหารโดยไม่ต้องเดินทางไปหลายสาขาในแต่ละวัน                                            
                 ลดค่าเดินทางในการไปดูแลแต่ละสาขา                                                     
              สามารถมีหลักฐานจับผิดพนักงานในการทำงาน                                                            
              สามารถนำภาพที่บันทึกโดยระบบโทรทัศน์วงจรปิดมาวางแผนปรับปรุงการบริการของ พนักงานในร้าน                                                  
      2. ท่านคิดว่าในอนาคตร้านไอศกรีม Iberry สามารถนำไอทีเข้ามาช่วยงานด้านใดอีกได้บ้าง 
       ตอบ      เพิ่มการบริการจัดส่งไอศกรีมถึงบ้านโดยการนำอินเตอร์เน็ตเข้ามาใช้ในการรับออร์เดอร์ ไอศกรีมเพื่อเพิ่มยอดขายและเพิ่มความสะดวกให้กับลูกค้าโดยไม่ต้องมาทานที่ร้านใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อรายงานการทำงานของพนักงานในร้านและใช้แก้ปัญหาของแต่ละสาขา โดยการChatจะสามารถแก้ไขปัญหาต่างได้อย่างรวดเร็วใช้พลังงานไฟฟ้าแสงอาทิตย์เข้ามาช่วยในการผลิตและเก็บรักษาไอศกรีมเพื่อลดค่าไฟฟ้าใน ระยะยาวลางส่งไอศกรีมไฟฟ้าคล้ายเพื่อลดจำนวนพนักงานในการเสริฟไอศกรีม และลดปัญหาการเสริฟ ไอศกรีมล้าช้าลูกค้า นำตู้ขายคูปองไอศกรีมมาใช้ในการรับออร์เดอร์แค่เพียงใส่เงินในตู้และเลือกเมนูไอศกรีมที่ ต้องการก็ทำให้ลูกค้าได้รับคูปองไอศกรีมและเงินทอนทันทีเพื่อลดปัญหาการทอนเงินลูกค้า ให้ลูกค้าไม่ครบและลดปัญหาการต้องเตรียมเงินทอนให้ลูกค้าในแต่ละวันและที่สำคัญ พนักงานทุจริตได้ยาก                

      3. จากแนวคิดการนำไอทีมาใช้แก้ปัญหาของผู้บริหารร้านไอศกรีม Iberry นั้น ท่านคิดว่าสามารถนำแนวคิดนี้ไปประยุกต์ใช้กับธุรกิจใดได้บ้าง จงอธิบายและยกตัวอย่างประกอบ  
      ตอบ   สามารถนำไปใช้ได้แทบทุกธุรกิจซึ่งจะดีหรือไม่ขึ้นอยู่กับการคิดประมาณรายได้และกำไรของร้าน นั้นๆว่าผู้ลงทุนสามารถยอมรับรายจ่ายที่จะเกิดขึ้นหลังจากการนำไอทีเข้ามาใช้ได้หรือไม่ มิใช่เพียงแต่รายได้ เท่านั้นจะต้องคำนึงถึงข้อดีและข้อเสียของการนำไอทีเข้ามาใช้อย่างละเอียดเพื่อช่วยในการตัดสินใจ  เช่น ถ้าเป็นธุรกิจขายรถ ก็สามารถนำไอทีเข้ามาใช้ได้เหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็นการนำกล้องวงจรปิดมาใช้ใน การดูแลรักษารถจากการทดลองนั่งของลูกค้าหรือตรวจสอบลูกค้าที่ให้ความสนใจดูและรถ หรือ การนำกล้องวงจรปิดมาคอยสอดส่องดูแลการทำงานของลูกค้า การนำคอมพิวเตอร์เข้ามาเก็บข้อมูลส่วนตัวของลูกค้าที่สนใจรถและเลือกซื้อรถแต่ละรุ่นเพื่อใช้ในการทำการตลาดติดต่อกับลูกค้าที่สนใจรถรุ่นใหม่ๆ นอกจากนั้นยังสามารถสร้างที่จอดรถที่ใช้รีโมทในการควบคุม ที่จอดรถได้อย่างเช่นต้องการหรือสนใจรถยนต์รุ่นไหนก็สามารถใช้รีโมทในการควบคุมตำแหน่งที่ตั้งของรถ เพื่อนำมาให้ลูกค้าที่สนใจชม เป็นต้น