วันเสาร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

เรื่องที่2 พิจารณาจากใบโฆษณาขายคอมพิวเตอร์ทั่ว ๆ ไป

                     •ซีพียู
                          ซีพียู (CPU) คือ อุปกรณ์ตัวหนึ่งที่มีความสำคัญและจำเป็นในการทำงานของคอมพิวเตอร์ซึ่งอาจจะเรียกว่าเป็นหัวใจของคอมพิวเตอร์เลยก็ได้ ซีพียู เป็นตัวควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์ที่อยู่ในคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ต่อพ่วงที่ต่อร่วมกับคอมพิวเตอร์ โดย จะเป็นตัวกำหนดความสำคัญของอุปกรณ์ว่าตัวใดมีความสำคัญมากกว่าซึ่งหากติดตั้งอุปกรณ์ 2 ตัวที่อินเทอรัพ, การแจ้งกับซีพียูว่าจะขอเฉพาะอุปกรณ์ที่มีความสำคัญมากกว่าเท่านั้น ส่วนตัวที่สำคัญน้อยกว่าจะไมสามารถใช้งานได้ เช่น ถ้าเราต่อการ์ดจอภาพกับการ์ดเสียงที่อินเทอรัพเดียวกัน ซีพียู จะเลือกให้ใช้ได้เฉพาะการ์ดจอภาพเท่า
CPU ทำหน้าที่อะไร
CPU หรือ Central Processing Unit เป็นหัวใจหลักในการประมวลของคอมพิวเตอร์ โดยพื้นฐานแล้วซีพียูทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลเชิงคณิตศาสตร์และข้อมูลเชิงตรรกะเท่านั้น แต่ทำไมการคำนวณขนาดนี้ ต้องมีการพัฒนาซีพียูกันไม่หยุดหย่อน ย้อนกลับไปปี 1946 คอมพิวเตอร์ยุคแรกที่มีชื่อที่พอจะจำได้ก็คือ ENIVAC นั้นทำงานโดยใช้หลอดไดโอด ซึ่งสถานะการทำงานของหลอดพวกนี้ มีสองอย่าง คือ 1 กับ 0 จะมีค่าเป็น 1 เมื่อมีกระแสไหลผ่านและเป็น 0 เมื่อไม่มีกระแสไหลผ่าน นั่นจึงเป็นเหตุผลให้คอมพิวเตอร์ใช้เลขฐาน 2 ในการคำนวณ ครั้นต่อมาวิทยาการก้าวหน้าขึ้นเรื่อยๆ จากหลอดไดโอดก็พัฒนาเป็นทรานซิสเตอร์ และจากทรานซิสเตอร์ก็พัฒนาเป็นวงจรขนาดเล็ก ซึ่งรู้จักกันในชื่อของ IC และในที่สุดก็พัฒนาเป็น Chip อย่างที่เรารู้จักกันมาจนปัจจุบันนี้
สิ่งที่ผู้ผลิตซีพียูพยายามเพิ่มก็คือ ประสิทธิภาพในการประมวลผลของซีพียู เมื่อกล่าวถึงซีพียูและการประมวลผล สิ่งหนึ่งที่เราต้องเข้าใจคือภายในซีพียูไม่มีหน่วยเก็บข้อมูลสำหรับเก็บข้อมูลปริมาณมากๆ และซีพียูในยุคแรกๆ ก็ไม่มี Cache ด้วยซ้ำไป ปัจจัยที่มีผลต่อความเร็วของซีพียูก็คือ ความเร็วในการประมวลผลและความเร็วในการโอนย้ายข้อมูล ซีพียูในยุคแรกๆ นั้นประมวลผลด้วยความเร็ว 4.77 MHz และมีบัสซีพียู (CPU BUS) ความกว้าง 8 บิต เรียกกันว่าซีพียู 8 บิต (Intel 8080 8088) นั้นก็คือซีพียูเคลื่อนย้ายข้อมูลครั้งละ 1 ไบต์ ยุคต่อมาเป็นซีพียู 16 บิต 32 บิต และ 64 บิต ปัจจุบันโดยเฉพาะซีพียูรุ่นใหม่ๆ เคลื่อนย้ายข้อมูลครั้งละ 128 บิต ในการเคลื่อนย้ายข้อมูลนั้น เกิดขึ้นจากการควบคุมสัญญาณนาฬิกา ซึ่งนับสัญญาณเป็น Clock 1 เช่น ซีพียู 100 MHz หมายความว่าเกิดสัญญาณนาฬิกา 100 ครั้งต่อวินาที

หน่วยความจำหลัก
                           หน่วยความจำหลัก คือ หน่วยความจำที่ต่อกับหน่วยประมวลผลกลาง และหน่วยประมวลผลกลางสามารถใช้งานได้โดยตรง หน่วยความจำ ชนิดนี้จะเก็บข้อมูล และชุดคำสั่งในระหว่างประมวลผล และมีกระแสไฟฟ้า เมื่อปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ข้อมูลในหน่วย ความจำนี้จะหายไปด้วย หน่วยความจำหลักที่ใช้ในระบบคอมพิวเตอร์ปัจจุบัน เป็นชนิดที่ทำมาจากสารกึ่งตัวนำ หน่วยความจำชนิดนี้มีขนาดเล็ก ราคาถูก แต่เก็บข้อมูลได้มาก และสามารถให้หน่วยประมวลผลกลาง นำข้อมูลมาเก็บ และเรียกค้นได้อย่างรวดเร็ว
         เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องต้องอาศัยหน่วยความจำหลัก เพื่อใช้เก็บข้อมูลและคำสั่ง ซีพียูจะทำหน้าที่นำคำสั่ง จากหน่วยความจำหลัก มาแปลงความหมายแล้วกระทำตาม เมื่อทำเสร็จก็จะนำผลลัพธ์มาเก็บไว้ในหน่วยความจำหลัก ซีพียูจะกระทำตามขั้นตอนเช่นนี้เป็นวงรอบเรื่อยๆ ไปอย่างรวดเร็ว เรียกการทำงานลักษณะนี้ว่า วงรอบคำสั่ง (Execution cycle)
         จากการทำงานเป็นวงรอบของซีพียูนี้เอง การอ่านเขียนข้อมูลลงในหน่วยความจำหลัก จะต้องทำได้อย่างรวดเร็ว เพื่อให้ทันการทำงานของซีพียู โดยปกติถ้าให้ซีพียูทำงานที่มีความถี่ของสัญญาณนาฬิกา 2,000 เมกะเฮิรตซ์ หน่วยความจำหลักที่ใช้ทั่วไปมักจะมีความเร็วไม่ทันช่วงติดต่ออาจมีเพียง 100 เมกะเฮิรตซ์

                •อุปกรข้อมูลณ์รับ
                             อุปกรณ์นำข้อมูลเข้า ทำหน้าที่รับโปรแกรมและข้อมูลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำการประมวลผล ซึ่งอาจจะเป็นรูปภาพ ตัวอักษร เสียง หรือ วีดีโอ อุปกรณ์นำข้อมูลเข้าที่พบเห็นได้ในปัจจุบัน เช่น เมาส์ ( mouse) , คีย์บอร์ด (Keyboard) , ปากกาแสง ( Light Pen) , ไมโครโฟน ( Microphone) , สแกนเนอร์ (Scanner

            อุปกรณ์แสดงผล
  เป็นส่วนที่ทำหน้าที่แปลงข้อมูลที่คอมพิวเตอร์ทำการประมวลผลได้ให้อยู่ในรูปที่มนุษย์สามารถเข้าใจได้ ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของตัวอักษร รูปภาพหรือกราฟ แสดงออกให้เห็นออกมาทางอุปกรณ์แสดงผลต่าง ๆ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
                อุปกรณ์ที่แสดงผลลัพธ์แบบถาวร   หมายถึง อุปกรณ์ที่ให้ผลลัพธ์ทีสามารถเก็บไว้เป็นหลักฐานได้ต่อ ๆ ไปในอนาคต เช่น เครื่องพิมพ์ เป็นต้น
             อุปกรณ์ที่ใช้แสดงผลลัพธ์ชั่วคราว หมายถึง อุปกรณ์ที่ให้ผลลัพธ์แก่ผู้ใช้ในระยะเวลาหนึ่ง ไม่สามารถเก็บไว้เป็นหลักฐานได้ เช่น จอภาพ เป็นต้น

อุปกรณ์การสื่อสาร
                            อุปกรณ์พิ้นฐานที่จำเป็นต่อการสื่อสารข้อมูลทางคอมพิวเตอร์ ได้แก่ โมเด็ม มัลติเพล็กซ์เซอร์ คอนเซนเตรเตอร์ คอนโทรลเลอร์ และเทอร์มินัล ซึ่งเราจะศึกษาระบบการทำงานประโยชน์ ขอบเขตจำกัดของอุปกรณ์เหล่านี้รวมทั้งอุปกรณ์อื่นๆอีก เช่น เกตเวย์ เราเตอร์ บริดจ์ และรีพีดเตอร์ เป็นต้น

อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลสำรอง
                             internal storge หรือเป็นหน่วยเก็บข้อมูลและโปรแกรมชั่วคราว(temporary storage)เมื่อปิดเคื่รองคอมพิวเตอร์ข้อมูลหรือโปรเเกรมทุกอย่าง ที่เก็บในแรมจะหายไป เนื่องจากไม่มีกระแสไฟฟ้าหล่อเลี้ยง หน่วยเก็บข้อมูลประเภทนี้จึงเรียกว่า volatile ดังนั้นจัดเก็บข้อมูลอย่างถาวร ไว้ใช้งานในภายหลัง จึงจำเป็นจะตอ้งมีหน่วยเก็บเข้อมูลภายนอกที่เรียกว่า external storage หรือ secondary storage หรือ auxiliary storage ซึ่งสามารถจัดเก็บข้อมูลสำหรับการประมวลผลไว้ได้ถึงแม้ว่าจะไม่มีกระเเสไฟฟ้าหล่อเลี้ยง(non-volatile) ก็ตามกระบวนการในการเก็บข้อมูล เรียกว่า การเขียนหรือการบันทึกข้อมูล (writing หรือ recording data) เนื่องจากว่า อุปกรณ์เก็บข้อมูลสำรอง จะบันทึกข้อมูลในรูปของสื่อต่างๆที่สามารถนำมาเร๊ยกในภายหลังได้ กระบวนการดึงข้อมูลมาใช้เรียกว่า retrieving data เเละถ้าเป็นการอ่านข้อมูลจะเรียกว่า reading data เพราะอุปกรณ์เก็บข้อมูลสำรองจะอ่านข้อมูลและถ่ายโอนไปยังหน่วยความจำหลัก เพื่อการประมวลผลต่อไป
        อุปกรณ์เก็บข้อมูลสำรอง สามารถจำแนกได้เป็น 2 ประเภทหลัก ๆ ดังนี้
        จานแม่เหล็ก (magnetic disk storage)
จานแม่เหล็กเป็นอุปกรณ์เก็บข้อมูลสำรองที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายกับเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกประเภท จานแม่เหล็กประกอบด้วยแผ่นพลาสติกหรือโลหะที่เคลือบด้วยสารแม่เหล็ก ข้อมูลสามารถบันทึกและอ่านจากผิวหน้าที่เคลือบด้วยสารแม่เหล็กนี้
จานแม่เหล็กเป็นอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลที่มีความจุสูง มีความเชื่อถือได้ และยังสามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว ประเภทของจานแม่เหล็ก เช่น ฟลอปปีดิสก์ (floppy disks) และฮาร์ดดิสก์ (hard disk )


ซอฟต์แวร์ระบบ
ซอฟต์แวร์ระบบ คือซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ที่ออกแบบขึ้นมาเพื่อปฏิบัติการกับฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ และเพื่อจัดเตรียมและบำรุงรักษาแพลตฟอร์มจากการทำงานของโปรแกรมประยุกต์ [1][2]
ซอฟต์แวร์ระบบพื้นฐานที่สุดมีดังนี้
ในตำราบางเล่ม คำว่า ซอฟต์แวร์ระบบ หมายรวมถึงเครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนาซอฟต์แวร์ด้วย (เช่น คอมไพเลอร์ ลิงเกอร์ หรือดีบักเกอร์ เป็นต้น) [3]
โดยทั่วไปมิได้หมายความว่า ผู้ใช้จะต้องซื้อคอมพิวเตอร์เพื่อใช้งานซอฟต์แวร์ระบบ แทนที่จะเป็นอย่างนั้น อาจมองว่าซอฟต์แวร์ระบบเป็นสิ่งพื้นฐานของคอมพิวเตอร์ที่มีมากับเครื่องหรือติดตั้งไว้ก่อนแล้ว ในทางตรงข้ามกับซอฟต์แวร์ระบบ ซอฟต์แวร์ที่ผู้ใช้สามารถกระทำการต่าง ๆ อาทิสร้างเอกสารข้อความ เล่นเกม ฟังเพลง หรือท่องเว็บ เช่นนี้เรียกว่าโปรแกรมประยุกต์ [4]

ซอฟต์แวร์ประยุกต์
                              ซอฟต์แวร์ประยุกต์ คือซอฟต์แวร์ที่เขียนขึ้น เพื่อประยุกต์กับงานที่ผู้ใช้ต้องการ เช่น ซอฟต์แวร์ประมวลคำ ซอฟต์แวร์จัดเก็บภาษี ซอฟต์แวร์สินค้าคงคลัง ซอฟต์แวร์ตารางทำงาน ซอฟต์แวร์กราฟิก ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูล เป็นต้น
       การทำงานใดๆ โดยใช้ซอฟต์แวร์ประยุกต์ จำเป็นต้องทำงานภายใต้สภาพแวดล้อมของซอฟต์แวร์ระบบด้วย ตัวอย่างเช่น ซอฟต์แวร์ประมวลคำต้องทำงานภายใต้ซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการเอ็มเอสดอสหรือวินโดวส์ เป็นต้น
       ซอฟต์แวร์ประยุกต์ได้รับความนิยมใช้งานอย่างแพร่หลายในทุกวงการ ความนิยมส่วนหนึ่งมาจาก ขีดความสามารถของซอฟต์แวร์ประยุกต์นั้นๆ เพราะซอฟต์แวร์ที่ผลิตออกจำหน่าย ต่างพยายามแข่งขันกันหลายๆ ด้าน เช่น เรียนรู้และใช้งานได้ง่าย สนับสนุนให้ใช้กับเครื่องพิมพ์ได้ดี มีคู่มือการใช้ซอฟต์แวร์ที่อ่านเข้าใจง่าย ให้วิธีหรือขั้นตอนที่อธิบายไว้อย่างชัดเจน และมีระบบโอนย้ายข้อมูลเข้าออกกับซอฟต์แวร์อื่นได้ง่าย
       ซอฟต์แวร์ประยุกต์มีอยู่มากมาย อาจแบ่งได้เป็นสองประเภทใหญ่ คือ ซอฟต์แวร์ใช้เฉพาะทางและซอฟต์แวร์สำเร็จ
                   
                   2. ถ้าท่านเป็นผู้จัดการด้านคอมพิวเตอร์ และต้องให้คำแนะนำในการจัดหาคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ในงานสำนักงาน ท่านจะแนะนำให้ใช้คอมพิวเตอร์ประเภทใด ระบุเหตุผลประกอบ
                            ใช้คอมพิวเตอร์ประเภท PC
ข้อดี
PC
- ราคาถูกกว่า เมื่อสเปคเท่ากันกับ
NB คุ้มกับเงินที่จะเสียไป
- สามารถอัพเกรดได้ง่าย การ์ดจอ ฮาร์ดดิส แรม และอื่นๆ หาอะไรเพิ่ม เอาอะไรออกได้ง่าย อะไหล่ราคาไม่แพงเท่า
NB
- ใช้สะดวกกว่า เพราะ จอใหญ่กว่า คีบอร์ดใหญ่กว่า

                                                 
                2.ยกตัวอย่างซอฟต์แวร์ระบบมา 3 ตัวอย่าง
1.    ซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการไมโครซอฟต์วินโดวส์ (Microsoft Windows) ระบบปฏิบัติการที่พัฒนาโดยบริษัทไมโครซอฟต์ เป็นระบบปฏิบัติการที่มีลักษณะการใช้งานแตกต่างจาก 2 ระบบแรกที่กล่าวมา เนื่องจากมีส่วนติดต่อกับผู้ใช้ (user interface) เป็นแบบที่เรียกว่าระบบติดต่อผู้ใช้แบบกราฟิก (Graphic User Interface : GUI) หรือที่เรียกว่าจียูไอ คือมีการแสดงผลเป็นรูปภาพ และใช้สัญลักษณ์ในรูปรายการเลือก (menu) หรือสัญรูป (icon) ในการสั่งงานคอมพิวเตอร์แทนการพิมพ์คำสั่งทีละบรรทัด ทำให้การใช้งานคอมพิวเตอร์ง่ายขึ้น ทั้งยังมีสีสันทำให้ซอฟต์แวร์น่าใช้งานมากขึ้น
2.   ซอฟต์แวร์ประมวลคำเป็นซอฟต์แวร์ในการนำตัวอักษรมาเรียงต่อเป็นคำ ประโยคหรือย่อหน้า คล้ายการใช้เครื่องพิมพ์ดีดพิมพ์ข้อความบนกระดาษ แต่ต่างกันที่ตัวอักษรที่พิมพ์หรือป้อนเข้าทางแผงแป้นอักขระจะเข้าไปเก็บอยู่ในหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์ ทำให้สามารถแก้ไขดัดแปลงได้ง่าย ภายใต้ข้อกำหนดของซอฟต์แวร์ผู้ใช้สามารถกำหนดปรับแต่งรูปแบบได้ตามต้องการ เช่น การกำหนดเส้นกั้นหน้าและกั้นหลัง กั้นบนและกั้นล่าง เมื่อมีการแก้ไขจนเป็นที่พอใจแล้ว สามารถสั่งพิมพ์เอกสารออกทางเครื่องพิมพ์ได้หลายชุดตามที่ต้องการ เอกสารที่พิมพ์จากเครื่องพิมพ์ จะมีคุณภาพดีไม่มีรอยเปื้อนจากการแก้ไขดัดแปลง
3.   ซอฟต์แวร์นำเสนอ การนำข้อมูลตัวเลข โดยปกติจะอยู่ในรูปของตาราง เป็นแถวและสดมภ์ ซึ่งไม่ใช่วิธีนำเสนอข้อมูลที่ดี เพราะการนำเสนอข้อมูลในรูปตารางไม่ดึงดูดความสนใจ และตีความข้อมูลตัวเลขได้ลำบากไม่สมบูรณ์ การแปลงข้อมูลตัวเลขให้อยู่ในรูปภาพและแผนภูมิจะเป็นวิธีที่ดีและมีประสิทธิภาพสูง เพราะการนำเสนอข้อมูลด้วยวิธีนี้จะดึงดูดความสนใจสื่อความหมายได้กระจ่างชัด และเข้าใจง่าย
        ในปัจจุบันนิยมนำข้อมูลมาเขียนเป็นแผนภูมิหรือนำข้อมูลมาวิเคราะห์คำนวณตัวเลขทางสถิติ ได้ข้อมูลตัวเลขชุดใหม่ แล้วจึงค่อยนำมาสร้างเป็นแผนภูมิ ซึ่งแผนภูมิที่ได้นี้จะนำไปเสนอต่อผู้บริหารระดับสูงเพื่อใช้วางแผนและตัดสินใจ หรืออาจใช้เพื่อนำเสนอบุคคลทั่วไป เพื่อการประชาสัมพันธ์ แผนภูมิทางธุรกิจเพื่อการนำเสนอมักมีการจัดทำขึ้นเป็นพิเศษเพราะจะต้องให้เข้าใจง่าย ดึงดูดความสนใจผู้พบเห็น
                                                                  
 3.ให้ระบุแนวโน้มของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ มาอย่างน้อย 3 ตัวอย่าง
1.   การพัฒนาเครือข่ายคอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่เชื่อมโยงกันทั่วโลก ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ช่องทางการดำเนินธุรกิจ เช่น การทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การผ่อนคลายด้วยการดูหนัง ฟังเพลง และบันเทิงต่างๆ เกมออนไลน์ 
2.   การพัฒนาให้คอมพิวเตอร์สามารถฟังและตอบเป็นภาษา พูดได้ อ่านตัวอักษรหรือลายมือเขียนได้ การแสดงผลของคอมพิวเตอร์ได้เสมือนจริง เป็นแบบสามมิติ และการรับรู้ด้วยประสาทสัมผัส เสมือนว่าได้อยู่ในที่นั้นจริง
3.   การพัฒนาเครือข่ายโทร คมนาคม ระบบการสื่อสารผ่านเครือข่ายไร้สาย เครือข่ายดาวเทียม ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ทำให้สามารถค้นหาตำแหน่งได้อย่างแม่นยำ 
                                            
4. ถ้านักศึกษาเป็นผู้จัดการด้านคอมพิวเตอร์ และต้องให้คำแนะนำในการ จัดหาคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ในงานสำนักงาน นักศึกษาจะแนะนำให้ใช้คอมพิวเตอร์ประเภทใด ระบุเหตุผลประกอบ
กว่า
ใช้คอมพิวเตอร์ประเภท PC
ข้อดี
PC
- ราคาถูกกว่า เมื่อสเปคเท่ากันกับ
NB คุ้มกับเงินที่จะเสียไป
- สามารถอัพเกรดได้ง่าย การ์ดจอ ฮาร์ดดิส แรม และอื่นๆ หาอะไรเพิ่ม เอาอะไรออกได้ง่าย อะไหล่ราคาไม่แพงเท่า
NB

- ใช้สะดวกกว่า เพราะ จอใหญ่กว่า คีบอร์ดใหญ่กว่า


 

 5. ประเภทของภาษาคอมพิวเตอร์
  •    ภาษาเครื่อง
                             ภาษาเครื่อง (machine language) เป็น ภาษาโปรแกรมรุ่นที่หนึ่ง (first-generation programming language: 1GL) ซึ่งเป็นภาษาเดียวที่ไมโครโพรเซสเซอร์สามารถเข้าใจ คำสั่งเป็นตัวเลขล้วนๆ การอ่านและเขียนอาจต้องใช้เครื่องมือพิเศษ เป็นภาษาหรือคำสั่งที่ใช้ในการสั่งงานหรือติดต่อกับเครื่องโดยตรง ลักษณะสำคัญของภาษาเครื่องจะประกอบด้วยรหัสของเลขฐานสองซึ่งเทียบได้กับลักษณะของสัญญาณทางไฟฟ้าเข้ากับหลักการทำงาานของเครื่องสามารถเข้าใจและพร้อมที่จะทำงานตามคำสั่งได้ทันที ภาษาเครื่องจะมีกฎเกณฑ์ทางไวยากรณ์ค่อนข้างจำกัดโปรแกรมมีลักษณะค่อนข้างยุ่งยากซับซ้อน รหัสโครงสร้างของแต่ลำคำสั่งของภาษาเครื่องจะประกอบด้วยส่วนสำคัญ 2 ส่วนคือ
·         รหัสบอกประเภทของคำสั่ง (Operation Code
   หรือ Op-Code) เป็นส่วนที่บอกคำสั่งให้เครื่องทำการ
   ประมวลผล เช่น ให้ทำการบวก ลบ คูณ หาร หรือเปรียบเทียบ
·         รหัสบอกตำแหน่งข้อมูล (Operand) เป็นส่วนที่บอกว่า
   ข้อมูลที่จะนำมาประมวลผลนั้นเก็บอยู่ในตำแหน่ง (Address)
   ใดของหน่วยความจำ

  •    ภาษาแอสแซมบลี
ภาษาแอสเซมบลี (อังกฤษ: Assembly Language) หมายถึง ภาษาที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมภาษาหนึ่งซึ่งจะทำงานโดยขึ้นกับรุ่นของไมโครโพรเซสเซอร์ หรือ "หน่วยประมวลผล" (CPU) ของเครื่องคอมพิวเตอร์
การใช้ภาษาแอสเซมบลีจำเป็นต้องผ่านการแปลภาษาด้วยคอมไพเลอร์เฉพาะเรียกว่า แอสเซมเบลอร์ (assembler) ให้อยู่ในรูปของรหัสคำสั่งก่อน (เช่น .OBJ) โดยปกติ ภาษานี้ค่อนข้างมีความยุ่งยากในการใช้งาน และการเขียนโปรแกรมเป็นจำนวนบรรทัดมากมากกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับการใช้ภาษาระดับสูง เช่น ภาษา C หรือภาษา BASIC แต่จะทำให้ได้ผลลัพธ์การทำงานของโปรแกรมเร็วกว่า และขนาดของตัวโปรแกรมมีขนาดเนื้อที่น้อยกว่าโปรแกรมที่สร้างจากภาษาอื่นมาก จึงนิยมใช้ภาษานี้เมื่อต้องการประหยัดเวลาทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ และเพิ่มประสิทธิภาพของโปรแกรม
เนื่องจากตัวคำสั่งภายในภาษาอ้างอิงเฉพาะกับรุ่นของหน่วยประมวลผล ดังนั้นถ้ามีการเปลี่ยนแปลงไปใช้กับหน่วยประมวลผลอื่นหรือระบบอื่น (เช่น หน่วยประมวลผล x86 ไม่เหมือนกับ z80) จะต้องมีการปรับแก้ตัวคำสั่งภายในซึ่งบางครั้งอาจไม่สามารถปรับปรุงแก้ไขได้อย่างสมบูรณ์
  •    ภาษาระดับสูง
ภาษาระดับสูง (High Level Language)

           เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ที่ได้รับการพัฒนา ให้สามารถใช้ได้ง่ายและสะดวกยิ่งขึ้น การเขียนภาษาไม่ขึ้นกับฮาร์ดแวร์หรือลักษณะการทำงานภายในของเครื่อง ผู้เขียนโปรแกรมไม่จำเป็นต้องเข้าใจระบบการทำงานภายในเครื่องมากนัก เพียงแต่เข้าใจกฎเกณฑ์ในกาเขียนแต่ละภาษาให้ดี ซึ่งลักษณะคำสั่งจะคล้ายกับภาษาอังกฤษ ดังนั้นภาษาระดับสูงจึงเป็นที่นิยมใช้กันแพร่หลายในปัจจุบัน
        แต่อย่างไรก็ตามภาษาระดับสูงเครื่องจะยังไม่เข้าใจ จึงต้องมีการแปลให้เป็นภาษาเครื่องเสียก่อน โปรแกรมที่ใช้แปลภาษาระดับสูง แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ อินเทอพรีทเตอร์ (Interpreter) และคอมไพเลอร์ (Compiler)
  •      ยกตัวอย่างภาษา 
                ตัวอย่างภาษาC::...++โปรแกรมคิดเกรด++...

#include <conio.h>
#include <stdio.h>
void main()
{
int score;
char grade;
printf("Enter score : ");
scanf("%d",&score);
clrscr();
if (score > 100)
grade = 'E';
else if (score >= 80)
grade = 'A';
else if ((score >= 70) && (score < 80))
grade = 'B';
else if ((score >= 50) && (score < 70))
grade = 'C';
else if ((score >= 40) && (score < 50))
grade = 'D';
else grade = 'E';
printf("You got %cn",grade);
getch();
}

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น